กฎหมายซึ่งรัฐ ได้บัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดให้ถือว่าการกระทำบางอย่างเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางสำหรับความผิดนั้นไว้ เช่น คดีลักทรัพย์ คดีวิ่งราวทรัพย์ คดีชิงทรัพย์ คดีปล้น คดีฉ้อโกง คดียักยอกทรัพย์ คดีโกงเจ้าหนี้ คดีรับของโจร คดีฆาตกรรม คดีข่มขืน กระทำชำเรา คดีพรากผู้เยาว์ คดีบุกรุก คดีปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม คดีแจ้งความเท็จ เบิกความเท็จ คดีหมิ่นประมาท และความผิดอื่นๆที่กฎหมายได้กำหนดให้เป็นความผิดไว้ ตามพระราชบัญญัติอื่นๆ เช่น พระราชบัญญัติจราจรทางบก คดีคุ้มครองผู้บริโภค และคดียาเสพติดให้โทษ เป็นต้น
คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมายแพ่ง เช่น การฟ้องให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญากู้ ฟ้องให้ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการฟ้องคดีแพ่งมุ่งให้จำเลยชำระเงิน หรือ ชดใช้ค่าเสียหาย นอกจากเป็นเรื่องพิพาทกันดังกล่าว อาจเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิของตน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งถึอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท การร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น
คดีอาญา คือ คดีที่เมื่อมีการกระทำผิดแล้วจะต้องรับโทษทางอาญา ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา หรือตามพระราชบัญญัติอื่นๆที่ระบุโทษทางอาญา เช่นพรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เป็นต้น โทษทางอาญามีอยู่ 5 ประการ ประหารชีวิต การจําคุก การกักขัง การปรับและการริบทรัพย์สิน
• ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลย และได้รับหมายเรียกในคดีแพ่ง
• ทำอย่างไรเมื่อต้องการให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยการครอบครองปรปักษ์
• ทำอย่างไรเมื่อถูกทำละเมิดเช่น รถชน ถูกทำให้เสียหายต่อชื่อเสียง
• ต้องทำอย่างไรเมื่อต้องการฟ้องกรณีผิดสัญญา เช่น กู้ยืม เช่าทรัพย์
• ทำอย่างไรเมื่อถูกฟ้องเป็นคดีอาญา หรือได้รับหมายเรียกในคดีอาญา เช่น เมื่อคุณลงลายมือชื่อในเช็ค เมื่อเช็คถูกปฎิเสธการจ่ายเงิน คุณอาจตกเป็นจำเลยในคดีอาญได้
• ทำอย่างไรเมื่อต้องการยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอปล่อยชั่วคราว ( ขอประกันตัว )
ทุกขั้นตอนมีความสำคัญมากหากได้รับคำแนะนำที่ผิดๆอาจสร้างความเสียหายแก่คดีของท่านได้
เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยและได้รับหมายเรียกในคดีแพ่ง ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาหรือได้รับหมายเรียกในคดีอาญาต้องทำอย่างไร ต้องต่อสู้แก้ต่างคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาอย่างไร
ทนายความสามารถเข้าฟังการสอบสวนของพนักงานสอบสวนได้
บริษัท สำนักกฎหมายไทยอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
international calls +0011(668)1-622-4799,(668)-6-996-1599
Email : support@thaiinternationallaw.com